2012.02.06
เหตุแผ่นดินไหวรุนแรงทางตะวันออกของญี่ปุ่นในปี 2554 ทำให้เกิดความสนใจที่เพิ่มขึ้นในสินค้าป้องกันภัยพิบัติ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในญี่ปุ่น ไอเท็มเหล่านี้มักเป็นสินค้าที่คุณไม่ได้ใส่ใจในชีวิตประจำวัน และมีคนจำนวนมากที่ตกตะลึงกับการพัฒนาของผลิตภัณฑ์เหล่านี้เมื่อพวกเขาไปที่ร้านค้าหลังการเกิดแผ่นดินไหว เราไปที่ร้าน โตคิว แฮนดส์ ชิบุย่า ซึ่งมีไอเท็มให้เลือกมากที่สุดในโตเกียว เพื่อสืบดูสินค้าใหม่ล่าสุดที่นี่
ยุคแห่งสินค้าป้องกันภัยพิบัติในแบบของคุณเอง เลือกอาหารฉุกเฉินตามใจคุณ
สิ่งแรกที่สะดุดตาเราคืออาหารที่มีให้เลือกเป็นจำนวนมาก เมื่อก่อน เวลาที่นึกถึงอาหารยามฉุกเฉินในญี่ปุ่น เราจะนึกถึงขนมปังแห้งคานปัน ตอนนี้ คุณจะพบกับอาหารและรสชาติหลากหลายตั้งแต่ขนมปัง ปิลาฟ โมจิ แกงกะหรี่ ไปจนถึงสตูว์ แม้กระทั่งบรรจุภัณฑ์ที่รายเรียงกันบนชั้นก็สีสันสดใส นี่มันเป็นอย่างนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่?
"ที่จริงแล้ว เรามีอาหารยามฉุกเฉินให้เลือกหลากหลายตั้งแต่ก่อนแผ่นดินไหวแล้ว ลูกค้าหลายท่านที่มาที่ร้านหลังจากแผ่นดินไหวประหลาดใจกับอาหารหลายชนิดที่เรามี" คะซึอาริ ฮานาโตะ ผู้รับผิดชอบสินค้าป้องกันภัยพิบัติที่ร้านโตคิว แฮนดส์ ชิบุย่า บอกกับเรา ด้วยเทคโนโลยีการถนอมอาหารระดับสูง จึงทำให้มีอาหารหลากชนิดขึ้นอย่างมากและเขาบอกกับเราว่า "มีลูกค้ามากขึ้นที่เลือกอาหารที่ตัวเองชอบและจับคู่อาหารหลายๆ อย่าง เราทึ่งกับเทคนิคที่ใช้เพื่อให้ได้ทานอาหารอร่อยโดยไม่ต้องใช้ไฟหรือไฟฟ้า เช่นโมจินิ่มลงได้ด้วยน้ำ และสตูว์ที่มาพร้อมกับสารให้ความร้อนเพื่อทำให้อาหารร้อน
ดูเหมือนว่าข้าวยังคงเป็นอาหารที่เป็นที่นิยมที่สุด และมีตัวเลือก "ข้าวอัลฟ่า" หลายแบบ ซึ่งใช้เพียงน้ำอุณหภูมิห้องก็สามารถรับประทานได้แล้ว เมื่อก่อน หลายคนไม่ชอบกลิ่นและรสเฉพาะตัวของข้าวนี้... แต่ตอนนี้ "ข้าวอัลฟ่า กำลังได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นประโยชน์สำหรับการเดินทางไปทำธุรกิจในต่างประเทศ และการปีนเขา รสชาติต่างจากที่เคยเป็นอย่างสิ้นเชิง และอร่อยมาก" หากคุณชอบปีนเขา ข้าวอัลฟ่าหลากหลายแบบนี้เหมาะที่จะซื้อมาเก็บไว้สำหรับยามฉุกเฉินมาก
สินค้าป้องกันภัยพิบัติสุดไฮเทค
พวกมันทำงานอย่างไร!?
ถึงแม้ว่าคุณจะคอยเช็คสมาร์ทโฟนใหม่ล่าสุด แต่ผู้คนจำนวนมากมักไม่ทราบว่าสินค้าป้องกันภัยพิบัติก็กำลังเริ่มมีความไฮเทคเช่นกัน ไอเท็มเหล่านี้ค่อนข้างน่าสนใจ
หลังแผ่นดินไหว ด้วยการวางแผนดับไฟและประหยัดพลังงาน แค่ได้มีไฟฟ้าใช้เราก็ดีใจแล้ว "ความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าหรือพลังงานเพิ่มขึ้น" คุณคะซึอาริกล่าว
ยกตัวอย่างเช่น เครื่องผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์พกพา ที่สามารถชาร์จไฟจำนวนมากได้ก็ได้รับความนิยมมาก อุปกรณ์นี้เหมาะสำหรับเวลาที่คุณจำเป็นต้องใช้แล็ปท็อปหรือสมาร์ทโฟน. วิทยุสื่อสารชาร์จด้วยมือพร้อมไฟในตัวก็เป็น "ไอเท็มผลิตพลังงาน" เช่นกัน แม้ไม่ไฮเทคเท่า แต่ก็ช่วยให้อุ่นใจระหว่างไฟดับ
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือสินค้าลึกลับที่รู้จักกันในชื่อว่า "แบตเตอรี่น้ำ" เราถามคุณคะซึอาริว่ามันคืออะไรและได้คำตอบว่า "มันคือแบตเตอรี่ที่ผลิตพลังงานเมื่อคุณใส่น้ำลงไปโดยจะไม่มีการผลิตหรือเสียพลังงานจนกว่าคุณจะใส่น้ำลงไป ซึ่งหมายความว่าหากไม่มีการเปิด จะสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 20 ปี" ถือเป็นเรื่องน่าแปลกใจมาก
นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ป้องกันภัยพิบัติไฮเทคอื่นๆ ที่เราไม่เคยรู้ว่ามีอยู่ เช่น เครื่องวัดการแผ่รังสี ซึ่งคุณสามารถเชื่อมต่อกับ iPhone โดยตรงและทวีตผลใน Twitter และผ้าห่มให้ความร้อนน้ำหนักเบาที่ใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาโดยนาซ่า
สินค้าป้องกันภัยพิบัติประเภทอุปกรณ์ดำรงชีพที่ไม่เปลืองพื้นที่ในบ้าน
เมื่อเกิดภัยพิบัติ คุณต้องคำนึงถึงเหตุรุนแรงที่ไม่มีไฟฟ้า แก๊ส หรือน้ำ เมื่อคุณลองดูสินค้าป้องกันภัยพิบัติ หรือสินค้าประเภทอุปกรณ์ดำรงชีพซึ่งสามารถช่วยชีวิตคุณได้ในสถานการณ์ดังกล่าว คุณจะสังเกตเห็นเทรนด์อย่างหนึ่ง นอกจากผ้าห่มให้ความร้อนที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีไอเท็มอีกมากที่สามารถเก็บอย่างกะทัดรัด เช่น หมวกกันกระแทกพับได้ และที่กรองน้ำแบบหลอด
"การเก็บหมวกกันกระแทกพร้อมใช้งานสำหรับทุกคนในครอบครัวต้องใช้พื้นที่มาก คุณจะเริ่มเก็บมันไว้หลังบ้าน ตู้เสื้อผ้า หรือที่ที่เก็บได้ นั่นหมายความว่า เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หมวกก็จะไร้ประโยชน์ และหมวกกันกระแทกที่ดีก็คือหมวกที่กะทัดรัดและสามารถเก็บในที่ที่หยิบได้ง่าย เพื่อที่คุณจะได้หยิบใช้ได้อย่างรวดเร็ว" คุณคะซึอาริกล่าว
แน่นอนว่ายิ่งไอเท็มนั้นเล็กและเบาเท่าไหร่ ก็จะเหมาะกับการใช้ในยามฉุกเฉินมากขึ้นเท่านั้น สิ่งที่โดดเด่นที่สุดคืออาหารยามฉุกเฉินที่มีปริมาณเพียงพอเพื่อเป็นให้พลังงาน รวมถึงไอเท็มไฮเทคต่างๆ ที่ยิ่งเบาและเล็กลงเรื่อยๆ และสามารถใช้ในชีวิตประจำวันปกติได้ และสินค้าป้องกันภัยพิบัติประเภทอุปกรณ์ดำรงชีพ ซึ่งบีบอัดประโยชน์ใช้สอยเข้ามาอยู่ในรูปที่กระทัดรัด
● ร้านโตคิว แฮนดส์ ชิบุย่า
12-18 อุดาคาวะโช, ชิบุย่า-คุ, โตเกียว
โทร: 03-5489-5111(ระบบตอบรับอัตโนมัติ)
เวลาเปิด 10:00 - 20:30 น.
http://shibuya.tokyu-hands.co.jp/