Visit Japan > พักผ่อน > นมัสการ พระพุทธรูป(3/3) ชมเส้นทางการเผยแพร่เข้ามาของพระพุทธรูปที่ในญี่ปุ่น ที่พิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น

2014.08.07

นมัสการ พระพุทธรูป(3/3) ชมเส้นทางการเผยแพร่เข้ามาของพระพุทธรูปที่ในญี่ปุ่น ที่พิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น

ช่วงนี้คนญี่ปุ่นมีความสนใจในทัวร์เกี่ยวกับการชมพระพุทธรูปมากขึ้น อีกทั้งยังมีวิธีการชมที่ให้ความสนุกสนานมากขึ้น โดยสถานที่ที่เราจะพาไปเยี่ยมชมครั้งนี้คือ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น ที่นี่ท่านสามารถชมประวัติของพระพุทธรูปที่กำเนิดจากเอเชียใต้ซึ่งเผยแพร่ผ่านเส้นทางสายไหมเข้ามาในประเทศญี่ปุ่น

หัวข้อ ○○ห้องโถง×ชั้น△ห้อง
ที่เขียนในบทความนี้จะแสดงเกี่ยวกับห้องจัดนิทรรศการ เคลื่อนย้ายตามชั้นที่ระบุไว้ในบทความ หรือมองหาหมายเลขห้องก็สามารถไปถึงได้อย่างง่ายดาย △ห้อง

ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียวที่อุเอโนะแห่งนี้ มีห้องจัดนิทรรศการทั้งหมด 5 ห้องโถง ซึ่งไม่สามารถเดินได้
หมดภายในหนึ่งวัน เพราะฉะนั้นทางพิพิธภัณฑ์จึงมี
โปรแกรมการเที่ยวชมซึ่งใช้เวลาไม่นานมานำเสนอบนเว็บไซต์
นอกจากนี้ ยังมีโปรแกรมสำหรับคนที่ชื่นชอบพระพุทธรูป รวมถึงประวัติศาสตร์เส้นทางการเดินทางของพระพุทธรูปที่กำเนิดมาจากเอเชียตะวันออกจนมาถึงญี่ปุ่น มีนิทรรศการที่แสดงพระพุทธรูปที่หายาก แต่เป็นที่น่าเสียดายที่เว็บไซต์มีแต่ภาษาญี่ปุ่น ดังนั้นเราจึงขอนำเสนอโปรแกรมที่สามารถเดินชมได้อย่างสนุกสนานโดยที่ไม่ต้องมีความรู้พิเศษเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย

ความลึกของพระพักตร์ที่น่าชวนมอง! มีต้นกำเนิดจากเส้นทางสายไหม
ห้องโถงโทโยคัง ชั้น2 ห้อง3 ประติมากรรมแกะสลักอินเดีย กันธาระศิลปะเอเชียกลาง

แคว้นมธุระของประเทศอินเดีย และแคว้นกันธาระของประเทศปากีสถาน
เป็นสถานที่ที่มีการริเริ่มการสร้างพระพุทธรูปในช่วงศตวรรตที่1

เริ่มจากพื้นที่จัดแสดงเกี่ยวกับพระพุทธรูปงานแกะสลักที่มาจากแคว้นกันธาระ ประเทศอินเดีย
งานนิทรรศการนี้เป็นการรวบรวมพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในช่วงยุคแรกซึ่งหาชมได้ยากไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ยังจะได้เห็นถึงวัสดุและรูปร่างที่ต่างกันซึ่งเป็นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะพระพุทธรูปของแคว้นกันธาระ ที่พระพักตร์ของพระพุทธรูปนั้น ถูกสร้างเหมือนสถาปัตยกรรมของตะวันตก ซึ่งเห็นแล้วจะต้องประหลาดใจ!
นอกจากนี้ในบริเวณใกล้เคียง มีโซนที่จัดแสดงงานเกี่ยวกับศิลปะของเอเชียกลาง ซึ่งเป็นงานศิลปะของ
พระพุทธรูปของประเทศอินเดีย ที่ได้เผยแพร่ไปยังประเทศจีนให้ได้ชมอีกด้วย

ปากีสถาน แคว้นกันธาระ ศตวรรตที่2 ศิลปะการแกะสลักพระพักต์ของ
พระพุทธเจ้านั้น ได้รับอิทธิพลมาจากการแกะสลักของประเทศกรีก

เศียรของพระโพธิสัตว์จีน ถ้ำคุมุโทระ สมัยราชวงศ์ถังศตวรรตที่ 7-8
พบร่อยรองประวัติศาสตร์สำคัญที่โอเอซิสใจกลางเมืองของเส้นทาง
สายไหมที่ถ้ำคุมุโทระ เจอพระพุทธรูปพวกนี้ ซึ่งอยากให้ลองเปรียบเทียบกับสถาปัตยกรรมของอินเดีย

นอกจากได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์แล้วยังได้สนุกกับห้องโทโยคัง ที่ชั้น1 ห้อง1
จะมีพระพุทธรูปของจีน ที่ชั้น5 ห้อง10 จะมีพระพุทธรูปของเกาหลี

พระพุทธรูปจากประเทศจีนนั้น จีนได้รับการเผยแพร่ศาสนาพุทธมาจากอินเดียในศตวรรตที่1 และเริ่มสร้างรูปปั้นหลังจากศตวรรตที่5 เป็นต้นไป

ในส่วนของนิทรรศการจัดแสดงพระพุทธรูปจีนนั้นเป็นการนำพระพุทธรูปในสมัยยุคทองของศาสนาพุทธในประเทศจีนซึ่ง
อยู่ในศตวรรตที่5 - 10มาจัดแสดง หากย้อนเวลากลับไปหลายๆสมัยจะเห็นว่าประติมากรรมงานปั้นนั้น
มีความหลากหลายมาก ที่ดูกี่ทีก็ยังเป็นที่น่าสนใจ นอกจากนี้ยังได้รู้เรื่องประวัติศาสตร์และตำนานเรื่องเล่าต่างๆ

ในส่วนนิทรรศการที่จัดแสดงพระพุทธรูปของเกาหลี อาจจะหาดูได้น้อยแต่ก็แสดงถึงเส้นทางที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามา
ในญี่ปุ่น แต่เส้นทางรูปแบบพระพุทธรูปที่มีเข้ามาในญี่ปุ่นนั้นหาได้ยาก

มรดกทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญ 
พระพุทธรูปโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม11หน้า วัดโอเคียวจิมณฑลซานจี
สมัยราชวงศ์ถังศตวรรตที่8 (ของขวัญที่ได้มาจากการบริจาคของคุณ โฮโซคาวา โมริทัสซึ) ในสมัยก่อน พระพุทธรูปองค์นี้ได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดโคทะคุจิ และซึ่งเป็นวัดที่จักรพรรดินีของจีนนั้นสร้างขึ้น นอกจากนี้ยังมีตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระพุทธรูปนี้อีก4ภาษา

พระพุทธรูปพระโพธิสัตว์เซี่ยเจียง สมัยสามก๊ก ศตวรรตที่7
(องค์กรรักษาและอนุรักษ์มรดกโอกุระ) พระพุทธรูปของเกาหลี เป็นรูปปั้นแบบที่นั่งขัดสมาธิที่หาดูได้ยาก นอกจากนี้ยังสามารถรู้ตำนานและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูปแต่ละองค์ได้อีกด้วย

ตามรอยพระพุทธเจ้า อีกหนึ่งหนทางใหม่ ที่ห้องจัดแสดงโทโยคัง ชั้นใต้ดิน ชั้นหนึ่ง ห้องที่ 11 จะมีการจัดแสดงรูปปั้นแกะสลักเขมร และห้อง12แสดงเกี่ยวกับพระพุทธรูปทองคำจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ก่อนที่รูปปั้นพระพุทธรูปเหล่านี้จะมาอยู่ในญี่ปุ่นนั้น ก็มีหนทางที่ลึกซึ้ง เริ่มจากรูปแกะสลักของเขมร และพระพุทธรูปทองคำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย แล้วจึงค่อยเผยแพร่มาสู่ประเทศจีน และ
ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะแสดงในนิทรรศการนี้ ระยะห่างกว่าจะมาถึงประเทศญี่ปุ่นเป็นอะไรที่น่าสนใจ

พระพุทธรูป กัมพูชา・อังกอร์・นครวัดนครธม№65 สมัยอังกอร์・12-13ศตวรรต (ของแลกเปลี่ยนของสถาบันเอเซียตะวันออกศึกษาของประเทศฝรั่งเศส) พระพุทธรูปที่ตกแต่งที่วัดอังกอร์เป็นพระพุทธรูปแกะสลักซึ่งมีพระพักต์ที่เป็นมิตร

พระพุทธรูปปางสมาธิ สมัยสุโขทัย・14-15ศตวรรต ภาพนี้คือพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มีประติมากรรมที่โค้งมนทำให้เป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปนี้

พระพุทธรูปญี่ปุ่นไม่สุดยอดเหรอ? ห้องแสดงสมบัติของวัดโฮริวจิ ชั้น1ห้องที่2 ห้องโถงใหญ่ชั้น1ห้อง11

ศูนย์แสดงนิทรรศการพระพุทธรูปทองคำขนาดเล็ก
สมบัติของวัดโฮริวจิ ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ที่เมืองนารา

ในที่สุดก็มาเจอพระพุทธรูปของญี่ปุ่น!
เริ่มต้นด้วยนิทรรศการที่อสดงเกี่ยวกับพระพุทธรูปทองคำขนาดเล็กสมัยศตวรรต6-8 ที่ห้องแสดงสมบัติของวัดโฮริวจิ ชั้น1ห้องที่2 ซึ่งในนิทรรศการนี้อาจมีพระพุทธรูปที่มีลักษณะคล้ายๆกับพระพุทธรูปของเกาหลีที่ส่งมายังญี่ปุ่นในตอนแรกๆ

ห้องนี้เป็นห้องโถงใหญ่แสดงภาพทั้งหมดของวิหารวัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ชั้น1 ห้อง11 ณ ตึกใหญ่
นอกจากนี้ห้องนี้ยังจัดแสดงรูปปั้นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยคามาคุระ(ในปีศรรตวรรตที่12-14)

จุดคลายแมกซ์อยู่ที่ห้องการจัดแสดง ชั้น1 ห้อง11 ณ ห้องโถงหลัก ที่มีการจัดนิทรรศกาลรูปปั้นพระพุทธเจ้ามากมาย แต่สิ่งที่น่าจับตามองโดยเฉพาะก็คือ รูปปั้นที่มีชื่อว่า ทามาเมะ(เป็นพระพุทธรูปที่มีลูกแก้วประดับอยู่บนหน้าฝาก ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะเฉพาะของรูปปั้นพระพุทธรูปในญี่ปุ่น) ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาโดยให้ความรู้สึกที่มีชีวิตชีวา คุณจะหลงใหลในความงามของรายละเอียด รวมถึงเสน่ห์ของการลงสีอย่างพิถีพิถัน

เวลาที่วัฒนธรรมรุ่งเรือง พระโพธิสัตว์ สมัยคามาคุระ・ศตวรรตที่13 ไม่ใช่แค่ทามาเมะอย่างเดียว ซึ่งริมฝีปากล่างยังมีลักษณะเหมือนมี
ลูกแก้วอยู่ข้างใน ด้วยสีหน้าที่แสดงออกถึงความเศร้าสร้อย

รูปปั้นพระพุทธรูปอะมิดานิโยไรที่นั่งปางสมาธิ สมัยคามาคุระ・12-13
ศตวรรต เมืองชิสึโอกะ・วัดกันโจวชิ อาจจะมองเห็บลูกแก้วยาก
แต่ถ้ามองให้เต็มตัว ก็จะเห็นความสวยงามมากมายของรูปปั้นที่นำมา
จัดแสดงในงานนิทรรศกาลนี้

ความประทับใจจากการเก็บภาพและข้อมูลในครั้งนี้ก็คือ การตระหนักถึงความสวยงามของพระพุทธรูปจากต้นกำเนิด
ทุกท่านที่ชมเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป ก็สามารถลองเปรียบเทียบกับสมัยและสถานที่ที่มาแต่ละยุค?

*เนื่องจากในสถานที่บางส่วนไม่สามารถเข้าไปถ่ายรูปได้ จึงทำให้ไม่มีภาพบางภาพที่บทความนำเสนอ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว
วิธีเดินทาง:รถไฟJRสถานีอุเอโนะ ทางออกด้านสวนสาธารณะ หรือจากสถานีอุกุยสุดานิประตูทางออกทางใต้ ใช้เวลาเดินประมาณ10นาที
รถไฟสายโตเกียวเมโทร สายกินซ่า สายฮิบิยะ สถานีอุเอโนะ จากประตูทางออกหมายเลข 7 ใช้เวลาเดิน15นาที
สายชิโยดะ สถานีเนซึ ทางออกหมายเลข 1ใช้เวลาเดิน15นาที รถไฟสายเคเซ สถานีเคเซอุเอโนะ ทางออกอิเคะโนะฮะตะ ใช้เวลาเดิน15นาที
รถบัสรอบเขตไดโท นั่งรถบัสที่จะไปโทไซเมกุริง นั่งรถบัสไปสถานีอุเอโนะ・สวนสาธารณะอุเอโนะ รถบัสคันแรกนั้นจะไปลงที่สถานี ป้ายรถเมล์ข้างหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว เมืองโตเกียว เขตไทโต อุเอโนะโคเอน 13 - 9 
โทรศัพท์:03-5777-8600(คุยกับพนักงานภาษาญี่ปุ่น) 03-5405-8686(คุยกับพนักงานภาษาอังกฤษ)
เวลาเปิดทำการ:9.30 - 17น. (เข้าชมรอบสุดท้ายจนถึงเวลา16:30น.)
*วันหยุดเสาร์อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์(แล้วแต่ฤดู) ในกรณีที่มีการจัดนิทรรศการพิเศษก็จะเลื่อนเวลาปิดออกไป วันหยุด:วันจันทร์(ในกรณีที่เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์จะหยุดวันถัดไปวันอังคาร) ช่วงสิ้นปีและปีใหม่
*ช่วงเวลาโกลด์เด้นวีค เดือนสิงหาคม วันที่13 - 15เปิดทำการทุกวัน
ค่าเข้าชม:บุคคลธรรมดา620เยน นักศึกษามหาวิทยาลัย410เยน เข้าชมเป็นหมู่คณะของบุคคลธรรมดา520เยน เข้าชมเป็นหมู่คณะของนักศึกษามหาวิทยาลัย310เยน
*ในกรณีที่เข้าชมเป็นกลุ่มต้องมีจำนวนคน20คนขึ้นไป
*นักเรียนมัธยมปลายที่มีอายุไม่ถึง18ปี ผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน70ปีขึ้นไปไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
http://www.tnm.jp/
※ราคาที่ได้แสดงในบทความนี้เป็นราคาที่ได้สำรวจเมื่อเดือนมิถุนายน2014 ซึ่งเป็นราคาที่รวมภาษีผู้บริโภค(8%)ไว้แล้ว

powered by Japan Hot Now